ภาวะความผิดปกติของการนอน หรือที่เราเรียกว่าการนอนไม่หลับ เป็นหนึ่งในภาวะที่ส่งผลให้เกิดความรู้สึกง่วงนอนในตอนกลางวัน รู้สึกไม่สดชื่น ส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานและการเรียน หลายคนอาจจะประสบปัญหาการนอนไม่หลับเป็นครั้งคราว แต่อย่างไรก็ตาม ในบางคนอาจประสบปัญหานอนไม่หลับอย่างเรื้อรัง ส่งผลให้ต้องหายานอนหลับมาช่วย เพราะในคนที่นอนหลับไม่เพียงพอจะส่งผลกระทบอยากมากต่อการใช้ชีวิตประจำวันนั้นเอง

สารบัญเนื้อหา

ยานอนหลับ คืออะไร ?

          หากคุณมีปัญหาในการนอนหลับ บางครั้งอาจรักษาที่สาเหตุแฝงที่ทำให้เกิดการนอนไม่หลับ เช่น ความเครียด หรือปัจจัยอื่นๆที่อาจส่งผลต่อความผิดปกติของการนอนหลับ เช่นเลือกรับประทานอาหารก็สามารถช่วยให้ปัญหาการนอนหลับดีขึ้นได้โดยไม่ต้องใช้ยานอนหลับ แต่อย่างไรก็ตามการใช้ยานอนหลับอาจมีประโยชน์ในผู้ที่มีปัญหาด้านการนอนหลับอยู่เป็นประจำ

กินยานอนหลับ

กินยานอนหลับ ควรใช้ในการควบคุมของแพทย์เท่านั้น เนื่องจากยาช่วยหลับค่อนข้างอันตรายหากใช้ไม่ถูกวิธี

          การใช้ยานอนหลับ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยทั่วไปแล้วเป็นการรักษาที่ดีสำหรับภาวะการนอนไม่หลับอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น ปรับการนอนหลับให้ได้ตามกำหนดเวลา ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงคาเฟอีนและเลี่ยงการงีบหลับตอนกลางวัน และการควบคุมความเครียดก็อาจช่วยให้หลับได้ง่ายขึ้นอีกด้วย โดยอาจมีการใช้ยานอนหลับควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็จะช่วยให้คุณนอนหลับได้เต็มที่มากยิ่งขึ้น

          และเนื่องจากยานอนหลับจัดเป็นยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีอาการป่วยบางอย่าง เช่น โรคตับหรือโรคไต ดังนั้นคุณควรปรึกษาแพทย์เสมอก่อนที่จะพยายามรักษาโรคนอนไม่หลับโดยใช้ยาช่วยให้หลับ ไม่ควรใช้ยานอนหลับด้วยตัวเองโดยเด็ดขาด

ยาช่วยให้หลับได้อย่างไร

          ยาช่วยให้หลับมีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับชนิดของยานอนหลับ และยาช่วยให้หลับที่ใช้กันทั่วไปได้แก่

ยานอนหลับกลุ่มเบนโซไดอะซีพีน (Benzodiazepines) และยาคล้ายเบนโซไดอะซีพีน (Benzodiazepine-like medication)

          ยานอนหลับกลุ่มนี้เป็นยาช่วยให้หลับที่ใช้กันมากที่สุด ตัวอย่าง ได้แก่เทมาซีแพม (Temazepam), โลปราโซแลม (Loprazolam), ลอร์เมตาซีแพม (Lormetazepam), ไนทราเซแพม (Nitrazepam) ยากลุ่มนี้ถูกแนะนำให้ใช้ในระยะสั้น (น้อยกว่า 4 สัปดาห์) โดยเบนโซไดอะซีพีนทำงานเสริมสารสื่อประสาทภายในร่างกายที่สำคัญมากตัวหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า GABA (กรดแกมมา-อะมิโนบิวทีริก) โดยจะไปออกฤทธิ์ที่ตัวรับที่ชื่อว่า GABA A ส่งผลให้ยานอนหลับนี้สามารถช่วยระงับประสาท ยาช่วยให้หลับ ลดความวิตกกังวล และยังสามารถใช้รักษาเป็นยากันชัก และยาคลายกล้ามเนื้อได้อีกด้วย

          GABA เป็นสารสื่อประสาท ที่ในระบบประสาทส่วนกลาง ที่มีบทบาทคือช่วยลดความตื่นเต้น มีหน้าที่ในการควบคุมกล้ามเนื้อ ซึ่งหากเราเปรียบเทียบระบบประสาทของคุณเป็นเหมือนรถยนต์ GABA จะทำงานเหมือนกับ “เบรก” ช่วยให้รถที่ออกตัวด้วยความเร็วบนท้องถนนหยุดช้าลง ดังนั้นสำหรับเวลาที่ร่างกายมีความตื่นตัว สาร GABA จะทำหน้าที่เป็น “เบรก” เพื่อทำให้คุณรู้สึกสงบและช้าลงนั้นเอง

          สาร GABA จะส่งข้อความให้ร่างกายรับรู้ โดยผูกกับตัวรับหรือไซต์พิเศษที่เรียกว่าตัวรับ GABA A ที่ด้านนอกของเซลล์ประสาท เมื่อ GABA จับกับตัวรับ GABA A เซลล์ประสาทของคุณจะตอบสนองต่อสารสื่อประสาทอื่นๆ น้อยลง เช่น Norepinephrine (noradrenaline), Serotonin, Acetylcholine และ Dopamine) ดังนั้นจึงทำให้ร่างกายรู้สึกสงบยิ่งขึ้น

ยานอนหลับกลุ่มเบนโซไดอะซีพีน (Benzodiazepines) และยาคล้ายเบนโซไดอะซีพีน (Benzodiazepine-like medication)

          ยานอนหลับกลุ่มนี้เป็นยาช่วยให้หลับที่ใช้กันมากที่สุด ตัวอย่าง ได้แก่เทมาซีแพม (Temazepam), โลปราโซแลม (Loprazolam), ลอร์เมตาซีแพม (Lormetazepam), ไนทราเซแพม (Nitrazepam) ยากลุ่มนี้ถูกแนะนำให้ใช้ในระยะสั้น (น้อยกว่า 4 สัปดาห์) โดยเบนโซไดอะซีพีนทำงานเสริมสารสื่อประสาทภายในร่างกายที่สำคัญมากตัวหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า GABA (กรดแกมมา-อะมิโนบิวทีริก) โดยจะไปออกฤทธิ์ที่ตัวรับที่ชื่อว่า GABA A ส่งผลให้ยานอนหลับนี้สามารถช่วยระงับประสาท ยาช่วยให้หลับ ลดความวิตกกังวล และยังสามารถใช้รักษาเป็นยากันชัก และยาคลายกล้ามเนื้อได้อีกด้วย

          GABA เป็นสารสื่อประสาท ที่ในระบบประสาทส่วนกลาง ที่มีบทบาทคือช่วยลดความตื่นเต้น มีหน้าที่ในการควบคุมกล้ามเนื้อ ซึ่งหากเราเปรียบเทียบระบบประสาทของคุณเป็นเหมือนรถยนต์ GABA จะทำงานเหมือนกับ “เบรก” ช่วยให้รถที่ออกตัวด้วยความเร็วบนท้องถนนหยุดช้าลง ดังนั้นสำหรับเวลาที่ร่างกายมีความตื่นตัว สาร GABA จะทำหน้าที่เป็น “เบรก” เพื่อทำให้คุณรู้สึกสงบและช้าลงนั้นเอง

          สาร GABA จะส่งข้อความให้ร่างกายรับรู้ โดยผูกกับตัวรับหรือไซต์พิเศษที่เรียกว่าตัวรับ GABA A ที่ด้านนอกของเซลล์ประสาท เมื่อ GABA จับกับตัวรับ GABA A เซลล์ประสาทของคุณจะตอบสนองต่อสารสื่อประสาทอื่นๆ น้อยลง เช่น Norepinephrine (noradrenaline), Serotonin, Acetylcholine และ Dopamine) ดังนั้นจึงทำให้ร่างกายรู้สึกสงบยิ่งขึ้น

ยาเมลาโทนิน (Melatonin)

          ยาเมลาโทนิน (Melatonin) เป็นฮอร์โมนที่สมองของพวกเราผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความมืด เป็นเหมือนนาฬิกาของร่างกาย ช่วยควบคุมการนอนหลับให้เหมาะสม อย่างไรก็ตามการที่คุณได้รับแสงจ้าในเวลากลางคืน อาจสามารถขัดขวางการผลิตเมลาโทนินของร่างกายได้ และมีส่วนทำให้รู้สึกนอนไม่หลับตามมา

ยาเมลาโทนิน

ยาเมลาโทนิน (Melatonin) เป็นฮอร์โมนที่สมองของพวกเราผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความมืด เป็นเหมือนนาฬิกาของร่างกาย ช่วยควบคุมการนอนหลับให้เหมาะสม

          ยาเมลาโทนินนั้น ไม่เชิงเป็นยานอนหลับ เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่ร่างกายสร้างขึ้น ระดับของเมลาโทนินในร่างกายแตกต่างกันไปตลอดทั้งวัน ฮอร์โมนนี้มีส่วนในการช่วยควบคุมวัฏจักรของชีวิตประจำวัน ของการทำงานต่างๆ ในร่างกาย มีการแนะนำให้ใช้อาหารเสริมเมลาโทนินในผู้สูงอายุ เช่นในผู้ที่อายุมากกว่า 55 ปี ที่มีอาการนอนไม่หลับอย่างต่อเนื่อง และในบางประเทศยังมีการใช้เมลาโทนินเพื่อช่วยในเรื่องการนอนหลับที่เกี่ยวข้องกับอาการเจ็ทแล็ก เป็นต้น

          สำหรับปัญหาการนอนในผู้ใหญ่ แพทย์อาจจะสั่งยาเมลาโทนินชนิดเม็ดที่ปลดปล่อยช้า ขนาด 2 มิลลิกรัม ยานี้จะช่วยให้มีการค่อยๆ หลั่งเมลาโทนินเข้าสู่ร่างกายของคุณในตอนกลางคืน โดยปกติการรับประทานยาเมลาโทนินอาจใช้เพียงระยะสั้นๆ ไม่กี่สัปดาห์เพื่อช่วยแก้ปัญหาการนอนหลับระยะสั้น อย่างไรก็ตาม บางครั้งอาจมีการสั่งจ่ายยานานถึง 13 สัปดาห์ได้

ยาช่วยให้หลับ ที่ช่วยแก้ไขวงจรการนอนหลับและตื่น (Sleep-wake cycle modifiers)

          ราเมลทีออน (Ramelteon) เป็นยานอนหลับรุ่นใหม่ล่าสุด และเป็นยาชนิดเดียวในกลุ่มนี้ ราเมลทีออนทำหน้าที่โดยตรงในวงจรการนอนหลับและการตื่นของร่างกาย หรือที่เรียกว่าจังหวะชีวิต

          โดยปกติวงจรการนอนหลับและตื่นถูกควบคุมโดยส่วนหนึ่งของสมองที่เรียกว่าไฮโปทาลามัส ยา Ramelteon จับกับตัวรับเมลาโทนิน และช่วยให้ร่างกายเกิดการนอนหลับ

          และเนื่องจากยานอนหลับกลุ่มนี้ออกฤทธิ์จำกัดภายในสมอง ยาราเมลทีออนจึงมีผลข้างเคียงน้อยเมื่อเทียบกับยาอื่นๆ ที่ออกฤทธิ์ทั่วๆ ไป

          การศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าราเมลทีออนสามารถใช้ในผู้สูงอายุที่นอนไม่หลับเรื้อรังได้ดี เนื่องจากยานอนหลับทำหน้าที่ในส่วนของสมองที่ควบคุมฮอร์โมน ราเมลทีออนอาจส่งผลต่อระดับฮอร์โมนหากใช้เป็นระยะเวลานาน ซึ่งสามารถลดความต้องการทางเพศในผู้ชายหรือทำให้ผู้หญิงตั้งครรภ์ได้ยากขึ้นได้

สมุนไพรและอาหารเสริม ยานอนหลับธรรมชาติที่อาจช่วยได้

วาเลเรียน (Valerian)

          วาเลเรียน เป็นสมุนไพรระงับประสาทที่ใช้กันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 เพื่อเป็นยานอนหลับ ใช้รักษาอาการนอนไม่หลับและความวิตกกังวล เชื่อกันว่าสมุนไพรนี้ทำงานโดยการเพิ่มระดับของ GABA ในสมอง แม้ว่าจะยังไม่มีการศึกษาการใช้วาเลอเรียนสำหรับโรคนอนไม่หลับในวงกว้างมากนัก แต่ผลการวิจัยก็แสดงให้เห็นว่าสารนี้มีความปลอดภัย และใช้ได้ผลดีที่สุดเมื่อรับประทานทุกวันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ขึ้นไป

ยาเมลาโทนิน (Melatonin)

          ยาเมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติซึ่งจะเพิ่มขึ้นในเวลากลางคืน ฮอร์โมนชนิดนี้จะถูกกระตุ้นโดยความมืดและระดับของเมลาโทนินจะยังคงสูงขึ้นตลอดทั้งคืนจนกระทั่งถูกแสงตอนช่วงเช้า แม้ว่ายาเมลาโทนินดูเหมือนจะไม่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการรักษาความผิดปกติของการนอนหลับ แต่ก็สามารถช่วยแก้ปัญหาการนอนหลับที่เกิดจากอาการเจ็ทแล็กและการทำงานเป็นกะได้ ปัจจุบันมีอาหารเสริมหรือยาเมลาโทนินที่ใช้เป็นยานอนหลับหลากหลายยี่ห้อ อย่างไรก็ตามยาเมลาโทนินอาจรบกวนความดันโลหิตและยารักษาโรคเบาหวานบางชนิด ทางที่ดีควรรับประทานยาในปริมาณต่ำ เช่น 1-3 มิลลิกรัม เพื่อลดผลข้างเคียงและอาการง่วงนอนในวันถัดไป

ดอกคาโมไมล์ (Chamomile)

          หลายคนดื่มชาคาโมมายล์เพราะมีคุณสมบัติเป็นยากล่อมประสาท เป็นยาช่วยให้หลับ เพื่อให้ได้ประโยชน์ในการส่งเสริมการนอนหลับอย่างเต็มที่ ให้ต้มน้ำให้เดือด จากนั้นเติมชา 2-3 ถุง (หรือเทียบเท่าชาใบหลวม) ปิดฝาแล้วต้มเป็นเวลา 10 นาที

ชาคาโมมายล์มีคุณสมบัติเป็นยาช่วยให้หลับ

ทริปโตเฟน (Tryptophan)

          ทริปโตเฟนเป็นหนึ่งในกรดอะมิโนพื้นฐานที่ใช้ในการสร้างสารเคมีตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า เซโรโทนิน ซึ่งเป็นสารในสมองที่ช่วยบอกให้ร่างกายนอนหลับ ร่างกายสามารถเปลี่ยนกรดอะมิโนทริปโตเฟน (L-tryptophan) เป็นเซโรโทนินได้ ผลการศึกษาบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าทริปโตเฟนสามารถเป็นยาช่วยให้หลับ ช่วยให้คนหลับเร็วขึ้นได้

คาวา (Kava)

          คาวามีคุณสมบัติในการปรับปรุงการนอนหลับในผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ เป็นยาช่วยให้หลับที่เกี่ยวข้องกับความเครียด อย่างไรก็ตาม คาวาอาจส่งผลทำให้ตับถูกทำลาย ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้ด้วยตัวเอง เว้นแต่จะอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

 

          นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรอื่นๆ ที่พบว่ามีผลทำให้สงบหรือผ่อนคลาย ได้แก่ เลมอนบาล์ม (Lemon balm) เสาวรส (Passionflower) และลาเวนเดอร์ (Lavender) เป็นต้น อาหารเสริมเพื่อการนอนหลับหลายชนิดใช้ส่วนผสมเหล่านี้ร่วมกัน เพื่อหวังผลช่วยการนอนหลับนั่นเอง

ยานอนหลับออกฤทธิ์กี่ชั่วโมง

          ยานอนหลับออกฤทธิ์กี่ชั่วโมง จริงๆแล้วอาจจะตอบคำถามนี้ได้ไม่แน่นอนนัก เนื่องจากในท้องตลาดมียานอนหลับหลากหลายชนิด แต่ละชนิดมีกลไกที่แตกต่างกันออกไป จึงส่งผลให้มีเวลาเริ่มออกฤทธิ์ หรือระยะเวลาที่ออกฤทธิ์แตกต่างกัน ดังนั้นยานอนหลับออกฤทธิ์กี่ชั่วโมงนั้น ขึ้นอยู่กับคุณเลือกใช้ยาชนิดใดนั้นเอง แต่อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วยาช่วยให้หลับมักออกฤทธิ์​หลังจากรับประทานไปแล้วประมาณ ​15-20 นาที และออกฤทธิ์ยาวไปประมาณ 3 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย และยังมียานอนหลับบางกลุ่มที่ออกฤทธิ์ได้ยาวมากกว่านี้

กินยานอนหลับรู้สึกตัวไหม กินยาในปริมาณเท่าไรจึงจะปลอดภัย

          เชื่อว่าหลายคนที่มีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับ และอยากใช้ยาช่วยให้หลับเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรค ต้องมีความสงสัยว่าการกินยานอนหลับรู้สึกตัวไหม คำตอบคือการรับประทานยานอนหลับ ยาจะไปออกฤทธิ์กดการทำงานของสมอง ทำให้รู้สึกง่วงและหลับได้ในที่สุด โดยยาช่วยให้หลับมีหลากหลายกลุ่ม หลากหลายชนิด บางชนิดออกฤทธิ์สั้น บางชนิดออกฤทธิ์ยาว เมื่อใดที่ยานอนหลับหมดฤทธิ์ คุณก็จะตื่นขึ้นมาตามปกติ ซึ่งการใช้ยาช่วยให้หลับควรอยู่ในความดูแลของแพทย์เสมอ เนื่องจากหากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป ไม่ทำให้เกิดอันตรายใดๆ แต่การใช้ยาเกินขนาดจะออกฤทธิ์กดการทำงานของสมองที่ควบคุมการหายใจ เกิดภาวการณ์หายใจล้มเหลว เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

          นอกจากนี้ยานอนหลับบางชนิดที่ออกฤทธิ์ยาว หลังจากตื่นนอนแล้ว อาจจะยังรู้สึกง่วงนอน อ่อนเพลีย หรือมึนงง ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้น หากต้องขับรถหรือทำงาน

ยาช่วยให้หลับ

ยานอนหลับบางชนิดที่ออกฤทธิ์ยาว หลังจากตื่นนอนแล้ว อาจจะยังรู้สึกง่วงนอน อ่อนเพลีย หรือมึนงง ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้น

ปัญหาการกินยานอนหลับแต่ไม่หลับ

          เนื่องจากปัญหาการนอนไม่หลับของแต่ละคนมีความแตกต่างกันออกไป การนอนไม่หลับอาจเกิดจากปัญหาทางกาย ทางพฤติกรรม หรือทางอารมณ์ ดังนั้นการแก้ปัญหานอนไม่หลับ ในแต่ละคนจึงแตกต่างกันออกไปเช่นกัน การใช้ยานอนหลับอาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดเสมอไป และตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น ยานอนหลับหลายกลุ่มไม่แนะนำให้ใช้ในระยะเวลานาน เพราะการรับประทานยาช่วยให้หลับต่อเนื่องกันนานๆ อาจทำให้ร่างกายทนต่อยา และใช้ยาดังกล่าวไม่ได้ผลอีก วิธีการที่ดีที่สุดคือควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาทางรักษาที่เหมาะสมกับตัวของคุณมากที่สุด

รับประทานยานอนหลับกินกี่เม็ดอันตราย

          การกินยาช่วยให้หลับนั้น ยานอนหลับมีฤทธิ์​กล่อมประสาท กินยานอนหลับจะไปส่งผลต่อสมอง และระบบประสาทส่วนกลาง และร่างกายก็จะจดจำเวลาที่เรารับประทาน ยาจะเข้าไปเพื่อทำให้ง่วง จึงทำให้นอนหลับได้นั่นเอง หากรับประทานยานอนหลับเกินขนาดหรือปริมาณ​สูงจนเกินไป อาจจะทำให้มีอาการนอนหลับยาว และมีฤทธิ์กดประสาท กดการหายใจ และอาจทำให้เสียชีวิตได้

          หรือในบางกรณีการรับประทานยาช่วยให้หลับมากเกินไปอาจจะทำให้ไม่หลับเลย จนต้องเพิ่มปริมาณ​ยาเข้าไปอีก และเนื่องจากร่างกายดื้อต่อยาแล้ว อาจทำให้เสพติดยานอนหลับ และไม่สามารถหลับได้เองตามธรรมชาติ

          และยานอนหลับก็มีผลข้างเคียงที่เกี่ยวข้องกับ​สมองโดยตรง เช่นอาจทำให้ซึม​ สับสน ไม่มีสติ อ่อนเพลีย อารมณ์​แปรปรวน​ พูดไม่ชัด สมองเบลอ เดินโซเซ เคลื่อนไหวช้าผิดปกติ เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ​และเสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์ นอกจากนี้ยังมีผลต่อเส้นเลือด​และอาจทำให้หัวใจวายได้

กินยานอนหลับจะไปส่งผลต่อสมอง และระบบประสาทส่วนกลาง ดังนั้นควรใช้ในปริมาณตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น

บทความอ้างอิง

  1. Pharmacy and Therapeutics: “Pharmacological Treatment of Insomnia.”
  2. http://www.sleepfoundation.org/articles/sleep-disorders
  3. https://www.sleepassociation.org/about-sleep/what-is-sleep/